วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เวลา 12:30 - 15:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอคำคม







นำเสนอตัวอักษรชื่อผู้บริหาร

ตัวอย่าง






โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
 การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว โดยที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
                1. นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
                2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
                3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
                5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                6. ปรัชญา นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
                7. ความต้องการของชุมชน

1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
                1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
                2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
                3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่

การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย







2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
                (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2545 กล่าวไว้ใน มาตรา 15กำหนดการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ)
                1.รูปแบบในระบบโรงเรียน
                2.รูปแบบนอกระบบโรงเรียน
                3.รูปแบบตามอัธยาศัย
3. รูปแบบการให้บริการแบบใหม่
                คือ การรวมเด็กที่ผิดปกติและเด็กปกติไว้ด้วยกัน โดยเรียกแบบนี้ว่า “Normalization”


หลักในการบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

1. การบริหารงานวิชาการ
                เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนผู้เรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาปฐมวัย
                คือ การปฏิบัติการใช้คนให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขบวนการต่าง ๆ
3. การบริหารงานธุรการและการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
                - งานธุรการในสถานศึกษา
                - งานการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
                - งานสารบรรณในสถานศึกษาปฐมวัย
                - งานทะเบียนและรายงาน
                - งานรักษาความปลอดภัย
                - งานการเงินและพัสดุ
                - งานพัสดุ
4. การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาปฐมวัย 
                คือ การดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยนักเรียนสมัครใจร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง

5. การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
           - การบริหารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
           - การบริหารสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและประสบการณ์


การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคปฏิรูป

ความหมาย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management)

                คือ การบริหารโดยกระจายอำนาจทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรงให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากที่สุด
หลักการในการบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management)
หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration Involvement)
หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน
( Return Power to People)
หลักการบริหารตนเอง (Self - managing)
หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)

รูปแบบโรงเรียนที่ใช้การบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก
(Administrative Control School Council )
บริหารโดยครูเป็นหลัก
(Professional Control Council)
การบริหารจัดการโดยชุมชนมีบทบาท
(Community Control School Council)
ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก
(Professional Community Control School Council)
สรุปการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School-Based Management )
    การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management)
เป็นการถ่ายโอนอำนาจจากหน่วยงานไปให้แก่โรงเรียนได้บริหารแบบ
เบ็ดเสร็จที่โรงเรียนโดยมอบอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาให้แก่
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง    
องค์กรแห่งการเรียนรู้

ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้
(ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก (Peter M. Senge) )
การใฝ่ใจพัฒนาตน (Personal Mastery)
รูปแบบของความคิด (Mental Models)
วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)

การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
สาระสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
  • การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดการยอมรับในเป้าหมาย
  • การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความสำนึกในหน้าที่ความ
รับผิดชอบ
ผลดีของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
• สร้างสรรค์ให้มีการระดมกำลังจากบุคคลต่าง ๆ
• สร้างบรรยากาศและพัฒนาประชาธิปไตยในการทำงาน
• ช่วยให้ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน
• การบริหารแบบมีส่วนร่วม
• ผลงานที่เกิดขึ้น
• สร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

ข้อจำกัดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การแสดงความคิดเห็นเกิดข้อขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร
ก่อให้เกิดกลุ่มอิทธิพล
ผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ
การบริหารงานไม่สามารถใช้กับงานที่เร่งด่วนได้
ใช้งบประมาณมาก
ความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
การไม่เข้าใจหน้าที่มักจะทำให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติ
(
SWOT Analysis Workshop)
SWOT คืออะไร
vคือการวิเคราะห์สำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์กร และสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน
vS : จุดแข็ง
vW : จุดอ่อน
vO : โอกาส
vT : อุปสรรค
üแต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องไม่มองข้ามไปคือ เรากำลังจะเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ที่อาจจะทำให้บางคนไม่พอใจจากการสำรวจ
üจุดอ่อน:W-จุดแข็ง:Sภายในองค์กร และ
üโอกาส:O-อุปสรรค:Tภายนอก

SWOT ให้คำตอบอะไรกับเรา
1.อะไรคือเรื่องหลักที่เราต้องเผชิญในวันนี้
2.เราจะจัดการกับเรื่องหลักนี้อย่างไร
ข้อสังเกต
v บางคนใช้ SWOT เพื่อตั้งคำถามอย่างเดียว
v บางคนใช้เหตุผลของ SWOT มองข้ามปัญหาไป

เรามาทำความคุ้นเคยกับ SWOT ด้วยกัน
qถ้าคุณมีภารกิจ ที่จะต้องให้บริการที่มีภาพต่อชุมชน ตรงต่อเวลา ข้อมูลน่าเชื่อถือ และมีภาพพจน์ที่ดี
qมีการกำหนดหน้าที่ และภารกิจให้กับทีมงานทุกคน
qภารกิจบรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ในการเพิ่มมูลค่า(Value Creativity) และคุณค่าความเป็นอยู่ในชุมชนดีขึ้น
ใช้ SWOT ในการวิเคราะห์

เรามาเริ่มต้นด้วนการวิเคราะห์จุดแข็ง
S : Strengths
ตัวอย่าง
vงานที่เราถนัด ทำแล้วมีความสุข
vงานที่โดดเด่นที่ชุมชนชื่นชอบ
vอะไรที่ชุมชนมีความต้องการให้เราทำซ้ำอีก
vทรัพยากร และเครื่องมือที่เรามีความพร้อม

เรามาพิจารณาอีกมุมหนึ่งภายในขององค์กร
ของเรา คือจุดอ่อนW : Weaknesses
ตัวอย่าง
งานที่เราไม่สบายใจที่จะทำ
ความต้องการที่จะรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือทักษะบางอย่างที่เรายังไม่มั่นใจ
ขาดทรัพยากรในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการวิเคราะห์ประเมิน
ภายในองค์กรสมบูรณ์ครบถ้วน
ด้วยการมองสภาพแวดล้อมภายนอก แล้วพิจารณาว่า องค์กรของเรามีโอกาสประสบความสำเร็จ จากแผนโครงการพัฒนา ด้วยวิธีการทำงานใหม่นี้หรือไม่

ข้อมูลสภาพแวดล้อมในตำบลของเรา  
อุปสรรค : Threats
vการมองถึงอุปสรรค T ไม่ใช่ความคิดที่ไม่มีข้อพิสูจน์
vใช่ว่าเรามองจะโลกในแง่ร้าย มากกว่าโอกาส เพราะว่าเราต้องใช้สรรพกำลังที่มีทำให้งานประสมความสำเร็จ โดยอาศัยปัจจัยด้านอื่นๆอีกสามด้าน คือ SWO
ตัวอย่าง
ใครคือคู่แข่งขันที่ทำได้ดีกว่าเรา
ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจะทำให้แผนโครงการเรามีปัญหา
ความขัดข้องที่จะเกิดจากเราเอง

สุดท้ายเรามาดูโอกาส : Opportunities
ตัวอย่าง
โอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ
มีเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการสนับสนุน
มีช่องว่างทางการตลาดที่เรามองเห็น
เครือข่ายมีศักยภาพทำให้งานสำเร็จง่ายขึ้น
หมายเหตุ
โอกาสควรที่จะพิจารณาทั้งในระดับมหภาค(ระดับประเทศ ระหว่างประเทศ) และระดับจุลภาค(ระดับครัวเรียน/ระดับหมู่บ้าน/ระดับตำบล)

การสร้างแผนปฏิบัติ
qขั้นต่อไปเราจะทำอย่างไร
qจุดแข็งของทุนเรามีอะไรบ้าง
qจะป้องกันหรือลดจุดอ่อนอย่างไร
qสร้างความได้เปรียบจากโอกาสอย่างไร
qระวังอุปสรรคอย่างไร

การนำไปใช้
นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในยามที่เราจะเป็นผู้บริหารในอนาคตที่จะจำเป็นต้องใช้ แลัมีแนวทางเนื้อหาการสอนที่ทำให้เราเข้าใจถึงการบริหารสถานศึกษา

ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังบ้าง จดบันทึกบ้างไม่จดบ้าง ตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังจดบันทึก 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี อธิบายเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างใกล้ๆที่เรารู้จัก
บันทึกการเรียนรู้คั้งที่ 5
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์  พ.ศ 2561
เวลา 09:00 - 11:30 น.
  ไม่ได้ไปเรียน เพราะเรียนวิชาเสรี

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วัน พุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เวลา 12:30 - 15:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

คำคมผู้บริหาร



นำเสนอ 6 โรงเรียน

1.โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ



2.สถานบริบาล

3. เบรนสคูล

4.บ้านคุณปู่เนอเซอรี่

5.ศูนย์เด็กเล็ก

6.ศูนย์อบรมก่อนวัยเรียน


การนำไปใช้
การเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหาร ข้อมูลโรงเรียนต่างว่าอนไหนแตกต่างกันบ้าง เราควรจัดโรงเรียนยังไงบ้าง และเทคนิคการบริหารโรงเรียนให้อยู่รอด การวางแผนของโรงเรียนแต่ละที่


ประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง นำเสนองานของตนเองได้ดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีข้อแนะนำอยู่ตลอดและทำให้เห็นบรรยายกาศจริง การลงมือทำ

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561
เวลา 12:30 - 15:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์
เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว
                นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ทว่า บทบาทผู้นำในยุคของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ
ความหมายและประเภทของผู้นำ
                ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  3  ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้ทั้ง
1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยงมวล
2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ 
   2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโดยรวบอำนาจ ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น   ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น      ฮิตเลอร์
2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้   ฉะนั้น   นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก 
จำแนกเป็น  3 แบบ คือ
     3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ   หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์   วิจารณ์   คาดโทษ   แสดงอำนาจ
3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง  โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff  ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพอีริก เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ  คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child  egostate )  ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง  (Parents  egostate)  ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ คือภาวะความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ในแบบผู้นำ
ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

คุณสมบัติของผู้นำ
ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)
คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
สรุป คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ ดังนี้ คือ
1. มีความเฉลียวฉลาด      2. มีการศึกษาอบรมดี     3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง    4. เป็นคนมีเหตุผลดี      5. มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี     6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ   7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี   8. มีสุขภาพอนามัยดี   9. มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา 10 มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ 11. มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที     12. มีความสามารถคาดการณ์
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                1. ตัวผู้นำ 2. ผู้ตาม
            3. จุดหมาย 4. หลักการและวิธีการ
        5. สิ่งที่จะทำ 6. สถานการณ์
   ภาวะผู้นำ (Leadership)

1. ผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำประเภทนี้ เกิดมาก็มีคุณลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ อาจสืบทอดโดยตำแหน่ง หรือโดยบุญบารมีที่ได้สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน จึงทำให้บุคคลนั้น เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้นำโดยกำเนิด เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ ผู้นำประเภทนี้เกิดขึ้นได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถเป็นอัจฉริยะ โดยเฉพาะบุคคลในตอนเริ่มต้นของชีวิตในระยะแรก ๆ ก็เหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่เนื่องจากเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญา ได้รับการศึกษาพัฒนาปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้นำ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายธานินทร์ เจียรวนนท์ และนายบิลเกตต์
3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่เกิดจากการได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ประสบความสำเร็จก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น อธิบดี ผู้อำนวยการ อธิการบดี หัวหน้าฝ่าย
4.  ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ มีความใฝ่ใจสูง เน้นการบริหารงานให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน รู้จักหน้าที่ของตน ผู้นำประเภทนี้แสดงออกให้เกินถึงความเป็นผู้นำที่ต้องออกคำสั่ง การบังคับบัญชา การตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้มักเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นครู เป็นผู้สอนแทน ผู้นำในการฝึกอบรม การประชุม
ลักษณะและบทบาทของผู้นำ
ผู้นำจะนำไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ก็อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการ หรือบริหารที่ดีได้ หรือผู้บริหาร-ผู้จัดการที่ดี ก็อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ องค์การหนึ่งองค์การใดที่ต้องการประสบความสำเร็จ ก็ย่อมต้องการผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีลักษณะเป็นผู้นำดังนี้
1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence)
2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive) 3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation)
4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes)

ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า
1. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือ ไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือมุ่งที่คนอย่างเดียว
2. ผู้บริหารเน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน
3.  วิธีการแก้ปัญหาของผู้นำจะใช้ผู้ปฏิบัติงานแก้เอง
4.  ผู้นำจะมอบอำนาจ  จนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว
5.  ผู้นำเน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
บทบาทหน้าที่ของผู้นำ
1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching)
 2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน
 3.  ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก
 4.  ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน
5.   Full fill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง
6.  ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน
ผู้นำยุคใหม่
คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
สรุป ผู้นำยุคใหม่ ก้าวไกลสู่สากล จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความคิดดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ สามารถคิดคาดการณ์ล่วงหน้า มีความมุ่งมั่น มีจิตใจดีงาน (business mind, social heart) พร้อมที่จะรับฟัง ยอมรับ และใส่ใจผู้อื่น มีความฉลาดทางความคิดปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ และจูงใจ ทั้งตนเองและผู้อื่นให้มีจิตใจร่วมกันเป็นหนึ่ง
เดียว เพื่อร่วมกันทำงานได้ด้วยความเต็มใจเพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน
ผู้นำจึงควรเป็นผู้ที่หัวใหญ่ (Head) ใจโต (Heart) มือกว้าง (Hand) และร่างสมาร์ท (Health)

ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร
ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ  เป็นสมาชิกในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในองค์กรจะเป็นผู้บริหารทุกคน  สมาชิกในองค์กรขนาดใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท   คือ ผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร ในองค์การนั้นผู้บริหารต่าง ๆ อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น  ผู้บริหารระดับล่างมักจะใช้ชื่อว่า  Supervisor  ถ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะเรียกว่า  Foreman   (หัวหน้างาน)   ส่วนผู้บริหารระดับกลางก็จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน  เช่น  ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วย  คณบดี  ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  รับผิดชอบในด้านนโยบาย กลยุทธ์  และตัดสินใจนั้น  ได้แก่ รองประธาน ประธาน  ผู้อำนวยการ อธิการ ประธานบอร์ด CEO
ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)
2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)
3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)
4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)
5.  ผู้บริหาร (Administrator)


1.  ผู้บริหารแบบ Impoverished จะเป็นผู้บริหารที่ไม่สนใจทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและเรื่องงาน เป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ที่สุด
2.  ผู้บริหารแบบ Country Club เป็นผู้บริหารที่มุ่งเน้นเรื่องความทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา แต่จะไม่มุ่งเน้นเรื่องงาน ดังนั้นผู้บริหารแบบนี้เป็นผู้บริหารที่ผู้ใต้บังคับบัญชาชอบ แต่งานที่รับผิดชอบมักจะไม่บรรลุเป้าหมาย
3.  ผู้บริหารแบบ  Authority-Compliance เป็นผู้บริหารที่มุ่งแต่เรื่องงานโดยไม่คำนึงถึงเรื่องจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา แม้ว่างานที่รับผิดชอบอาจจะบรรลุผล แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจจะไม่พอใจ ผู้ที่ทำงานด้วยจะอึดอัดใจ อาจจะลงท้ายความขัดแย้งในที่สุด
4.  ผู้นำแบบ  Middle the Road   เป็นผู้บริหารที่พอได้ทั้งเรื่องคนและเรื่องงานผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานด้วยก็พอใจในระดับหนึ่งงานที่รับผิดชอบก็สำเร็จอยู่บ้าง
5.  ผู้บริหาร  Team   เป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และยังสามารถทำงานได้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายอีกด้วยเป็นลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์ที่สุดในบรรดาผู้บริหารแบบอื่น ๆ
คุณลักษณะของผู้บริหาร
นักบริหารมืออาชีพได้สรุปคุณลักษณะดังนี้
             1.  Vision   เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
             2.   Charisma   เป็นผู้มีเสน่ห์  มีแรงดึงดูด  สร้างความเชื่อให้คนเกิดความศรัทธา คล้อยตามได้
             3.  Integrity   มีความเป็นปึกแผ่น  เหนียวแน่น
             4.  Self – Less   ทำอะไรไม่นึกถึงตนเองแต่คำนึงถึงส่วนรวม
             5.  Courage       มีความกล้าหาญ
             6.  Uncompromising   ไม่ยอมอ่อนในเรื่องบางเรื่อง
             7.  High   Ground    ความมีมาตรฐานในตัวเองมีความซื่อสัตย์   และมีความโปร่งใสสูง
              8.  Listening   รู้จักฟัง
             9.  Fairness    มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม
             10.  Sense     of   Time มีสติ   รู้ทันเหตุการณ์ว่าต้องทำอะไร
             11.  Know   Others Know   Oneself    เข้าใจคนอื่นและเข้าใจตนเอง หรือรู้เขารู้เรา
             12.  Judgment   ยุติธรรม
             13.  Inspiring    มีความมุ่งมั่น
             14.  Faith    มีความเชื่อมั่น   ศรัทธา
             15.  Institutional    มีความเป็นองค์กรนั้น
คุณลักษณะของผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้
1.  มีภาวะผู้นำ   มีศิลปะในการครองใจคน
2.  มีเมตตาธรรม   ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ
3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง
4.  เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์
5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์
6.  มีทักษะหลายด้าน         ทักษะในการตัดสินใจ         ทักษะในการวางแผน ทักษะในการจัดองค์กร ทักษะในการแก้ไขปัญหา ทักษะในการสร้างทีมงาน
7.  รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย
8.  รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย
9.  กล้าตัดสินใจ
10.  มียุทธวิธีและเทคนิค
11.  รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น
12.  รู้จักการเจรจาต่อรอง (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ
13.  ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้
14.  รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
15.  เป็นนักประชาธิปไตย
16.  กระจายอำนาจเป็น
17.  รู้จักทำงานในเชิงรุก
18.  พิจารณาคนเป็น
19.  โปร่งใสและตรวจสอบได้
20.  รู้จักควรไม่ควร  รู้จักความพอดี
คุณสมบัติที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์  ของผู้บริหารและผู้นำที่ต้องศึกษาเรียนรู้และพัฒนา  และปรับตัวให้เข้ากับสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ทันคน  ทันงาน  ทันการณ์  (กาล)  ทันเกมของการเปลี่ยนแปลงคนยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน
ระดับผู้บริหารและอำนาจหน้าที่
ผู้บริหารและการบริหารทุกระดับ ใช้ทักษะ (Skill)  อย่างเดียวกันแต่ใช้สัดส่วนที่ต่างกัน ยิ่งขึ้นไปสู่ระดับบริหารที่สูงขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งต้องการข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ และการใช้ทรัพยาการที่หลีกเลี่ยงในอนาคตมากขึ้น ดังนั้น ควรทำความเข้าใจอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ   ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                1.  ผู้บริหารหรือหัวหน้างานระดับต้น First – Line Manager
                 ทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมงานเท่านั้นจัดการงานเท่าที่ได้รับคำสั่งให้ทำ จึงไม่ถึงขีดขั้นที่จะเข้าระดับ ผู้จัดการโดยปกติจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น หัวหน้างาน (Foreman) ผู้ตรวจงาน หรือผู้ควบคุมงาน (Supervisor) หรือหัวหน้าแผนก (Section Chief) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
การเปรียบเทียบระดับบุคลากรในองค์กร
ปฏิบัติงานตามแผน  ซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำ
ใช้บุคลาการและทรัพยากรเท่าที่ได้รับมอบหมายมาให้ทำ
ทำแผนปฏิบัติการระยะสั้น ๆ โดยการควบคุมงานให้สำเร็จวันต่อวัน / วันรุ่งขึ้น  หรือ ภายในสัปดาห์หน้า
มอบหมายภาระงานให้พนักงานทำ
ตรวจสอบงานที่พนักงานทำสำเร็จ
วัดผลงานพนักงานแต่ละคนในสายงาน
หัวหน้างานโดยมาก ได้รับแต่งตั้งมาจากคนงานในระดับเดียวกันขึ้นมา  จึงมักตกอยู่ในฐานะ  “ระหว่างเพื่อนร่วมงานที่คุ้นเคยกันมาก่อนกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดซึ่งทั้งสองฝ่ายคิดว่าหัวหน้างานควรเป็นพวกของตนฝ่ายตน หัวหน้างานจึงต้องสร้าง “Linking Pin” สร้าง สมดุลให้ได้
2.  ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle Managers) ได้แก่ตำแหน่ง ผู้จัดการโรงงาน   ผู้จัดการฝ่ายผลิต หัวหน้าวิศวกร ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติกร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฯลฯดังนั้นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับกลาง Middle Management มีดังนี้
1  วางแผนระยะกลาง  เพื่อสอดคล้องรองรับกับแผนระยะยาวขององค์การที่ได้วางไว้โดยผู้บริหารระดับสูง
2  กำหนดนโยบายของแต่ละฝ่ายงาน
3  วัดและประเมินผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา  และหัวหน้างานทั้งหลายในสายงานของตน
4  แจกจ่ายมอบหมายงาน  ประสานงาน  และตรวจสอบควบคุมเพื่อให้งานเป็นไปตามแผนงานระยะสั้นของหัวหน้าระดับต้น  ดำเนินไปโดยราบรื่นสอดคล้องกับแผนระยะกลางและระยะยาว
3.  ผู้บริหารระดับสูง (Top Managers)  ได้แก่  ตำแหน่ง  ประธานกรรมการบริษัท  ประธานบริษัท  ผู้บริหารระดับสูงหรือรองประธาน  ผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการ  หรือ  รวมถึง ตำแหน่งผู้ว่าการ  เลขาธิการ  อธิบดี  ปลัดกระทรวง  เป็นต้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบ การจัดการระดับสูง  (Top Management) หรือการบริหารระดับสูง (Top Executive) งานที่ทำได้แก่
-  พิจารณาและทบทวนแผนกลยุทธ์  แผนระยะยาว
-  ประเมินผลการปฏิบัติงานของแผนงานหลักต่าง ๆ
-  ประเมินเจ้าหน้าที่ชั้นบริหาร  และเตรียมการคัดเลือกนักบริหารตำแหน่งสำคัญ
-  ปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับรองลงไปในเรื่องราวและปัญหาสำคัญต่าง ๆ
การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย
ต้องอาศัยทรัพยากรขององค์การขั้นพื้นฐาน คนเงิน  วัตถุดิบ  และทุน เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือการทำให้เกิดผลกำไรและเพิ่มผลผลิต  (ผลิตภาพ)  นั่นคือการทำให้อัตราส่วนระหว่างผลผลิต (output)  และปัจจัยการผลิต (input) เป็นที่น่าพอใจภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  โดยมีเป้าหมายจะให้บังเกิดสิ่งต่อไปนี้คือ
- การเพิ่มผลผลิต  หรือผลิตภาพ  (Productivity) หมายถึง ประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล รวมตลอดของทั้งองค์การ
- ประสิทธิผล  (effectiveness) คือ การบรรลุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่ต้องการ  คือมองตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 
- ส่วนประสิทธิภาพ (efficiency) นั่นคือความสามารถในการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด  และเกิดประโยชน์สูงสุด
 ระบบการบริหาร  (Management System)
ระบบการบริหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
        1. ระบบเปิด  (Open system) เป็นองค์การซึ่งดำเนินภายในและมีการปฏิสัมพัทธ์ (interacts) กับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วิธีการบริหารงานอย่างอย่างมีระบบนั้นประกอบไปด้วย ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมภายนอกและจากการเรียกร้องขบวนการแปลงสภาพ ระบบการติดต่อสื่อสาร
       2. ระบบปิด  (Closed System) เป็นระบบที่ไม่ต้องการอิทธิพลใด ๆ จากภายนอกและไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธุรกิจมักจะมองแต่ภายในองค์การของตนเองมากกว่าท่าจะสนใจกับสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวธุรกิจไม่ว่าจะเป็นลูกค้า รสนิยมผู้บริโภค สภาพการณ์ของตลาด ฯลฯ
หลักในการจัดรูปแบบของการบริหารงานยุคใหม่
1.   มีการกระจายอำนาจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
2.   จัดโครงสร้างให้เป็นไปตามสายงานการผลิต  จำหน่าย
3.   การบริหารงานส่วนกลาง  (Corporate Management) รับผิดชอบในทุกกระบวนการของการบริหารงานหลักทุก ๆ ส่วนงาน
4.   ผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) จะถูกจัดโดยกำไร/การหมุนเวียนของกระแสเงินสด
หลักในการจัดรูปแบบของการบริหารงานยุคใหม่
การบริหารงานในหลายรูปแบบ  โดยทั่วไปสรุปได้ 3 แบบ ดังนี้
รูปแบบที่  1 บริหารงานแบบอัตตาธิปไตย  คือ  การถือตนเอง  ความคิดเห็นหรือวิธีการของตนเองเป็นใหญ่  ถือว่าตนเองฉลาดหรือเก่งกว่าใคร  บริหารงานแบบเผด็จการ
รูปแบบที่  2 บริหารงานแบบโลกาธิปไตย  คือ การถือคนอื่นเป็นใหญ่  ไม่มีจุดยืนของตนเอง  ขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าตัดสินใจ
รูปแบบที่  3  บริหารงานแบบธรรมาธิปไตย  คือ การถือธรรมหรือหลักการและเหตุผลเป็นสำคัญ  ทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ยึดเอาความสำเร็จของงานส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (RBM: Result Based Management) ยินดีฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย
ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร
หน้าที่ของผู้บริหาร (Management Functions) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการจัดการ             
Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ในต้นศตรรษที่ 19 ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารดังนี้ (POCCC)
1.Planning (การวางแผน)
2.Organizing (การจัดองค์การ)
3.Commanding (การสั่งการ)
4.Coordinating (การประสานงาน)
5.Controlling (การควบคุม)
ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร
การวางแผน (Planning)  เป็นการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ต่าง ๆ และจัดทำแผนงานเพื่อประสานกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำในอนาคต เป็นการเตรียมการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การจัดองค์การ  (Organizing) เป็นการพิจารณาถึงงานที่จะต้องกระทำ ใครเป็นผู้ทำงานนั้น ๆ ต้องมีการจัดกลุ่มงานอย่างไร ใครต้องรายงานใคร และใครเป็นผู้ตัดสินใจ นั่นคือการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดสายการบังคับบัญชา
การชักนำ  (Leading)  เป็นการนำและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การสั่งการ การเลือกช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และการขจัดความขัดแย้ง หรือเป็นการกระตุ้นให้พนักงานใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
การควบคุม  (Controlling)  เป็นการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องอีกด้วย
บทบาททางการบริหาร (Management Roles)
Henry Mintberg ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่าบทบาทของผู้บริหารที่สำคัญมี 10 อย่างประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมากบทบาท คือ
1.  บทบาทด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Interpersonal  roles) ได้แก่
- ประธาน (Figurehead) เป็นบทบาทในการเป็นตัวแทน องค์กร  เป็นหัวหน้าในการปฏิบัติภารกิจประจำวันตามลักษณะทางสังคมและกฎหมาย เช่น อบรมสัมมนาต้อนรับลูกค้า หรือเป็นการสวมหัวโขนนั่นเอง
- ผู้นำ  (Leadership)  เป็นบทบาทที่ต้องรับผิดชอบในการจูงใจและชี้นำผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ผู้เชื่อมสัมพันธ์ไมตรี (Liasson) เป็นบทบาทในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับองค์การภายนอก การสร้างเครือข่ายต่าง ๆ สร้างไมตรี ผูกมิตรอันดีกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อองค์การ
2.  บทบาทด้านข่าวสาร (Informational roles) ได้แก่
- ผู้แสวงหาข้อมูลข่าวสาร (Monitor)
- ผู้กระจายข้อมูลข่าวสาร (Disseminator)
-  โฆษก  ประชาสัมพันธ์  (Spokesperson)
3. บทบาทด้านการตัดสินใจ  (Decision roles) ได้แก่
-   ผู้ประกอบการ  (Entrepreneur)
- ผู้ขจัดความขัดแย้ง  (Disturbance Handler)
- ผู้จัดสรรทรัพยากร  (Resource Allocate)
-   ผู้เจรจาต่อรอง  (Negotiator)
ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1)  ทักษะด้านเทคนิค   (Technical Skills)
2)ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Human Skills)
3)   ทักษะด้านการประสมแนวความคิด  (Conceptual Skill)
กิจกรรมทางการบริหาร
Fred Luthans ได้เสนอกิจกรรมทางการบริหารมี 4 อย่างด้วยกัน คือ
1.  Traditional Management ได้แก่ การตัดสินใจ การวางแผน และการควบคุม
2.  Communication ได้แก่ การแลกเปลี่ยนแปลงข่าวสาร และการทำเอกสารต่าง ๆ
3.  Human Resource Management ได้แก่ การจูงใจ การจัดวางระเบียบกฎเกณฑ์ การบริหาร ความขัดแย้ง  การจัดคนเข้าทำงานและการฝึกอบรม                              
4.  Networking ได้แก่ การเข้าสมาคม การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และการเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก
  จากการสำรวจ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลกับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะใช้เวลาในการทุ่มเทให้กับกิจกรรมดังกล่าวต่างกัน  คือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ (Successful Managers) ซึ่งก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เร็วกว่าผู้อื่น จะเน้นกิจกรรมด้าน Networking มากที่สุดทำกิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์น้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารที่ตั้งใจทำงานให้เกิดประสิทธิผล (Effective Manager) ซึ่งพิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของการปฏิบัติงานเป็นเครื่องวัดนั้น จะเน้นด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริหารทรัพยากรมนุษย์และงานด้านการบริหารตามลำดับ ส่วนกิจกรรมด้าน networking จะทำน้อยที่สุด

นำเสนอคำคม





บรรยายกาศภายในห้องเรียน


ใบความรู้


การนำไปใช้
การวางตัว การเป็นผู้นำในการบริหาร การวางแผน การตัดสินใจก่อนลงมือทำ 

 ประเมิน
ประเมินตนเอง : แรกๆจะได้ใจฟังและจดบันทึกตาม พอเข้าเนื้อหาเยอะๆก็จะเริ่มง่วงๆ แต่ก็สามารถเรียนผ่านไปได้ด้วยดี

ประเมินเพื่อน :เพื่อนตั้งใจฟังและจดบันทึกตาม จะคุยกันน้อย และอาจจะง่วงๆบ้าง มีการตอบคำถาม โต้ตอบกับคำถามได้ด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เอาเนื้อหาไม่ให้ได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น